วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Google Sites : การเปลี่ยนภาพฉากหลังส่วนหัวของหน้า

1 ความคิดเห็น
 
หลังจากที่ได้แนะนำเรื่องราวของ Google Sites ใหม่  (New Google Sites) ไปแล้ว มาวันนี้ จะได้แนะนำการจัดสภาพแวดล้อม เพื่อให้เหมาะสมกับสาระเนื้อหา หรือธีม ที่ได้ ออกแบบไว้


การปรับแต่งส่วนหัวของเว็บ

มีวิธีการดังนี้
1.ไปที่ https://sites.google.com/ ทำการเข้าระบบ จะเห็น Google Sites ใหม่  (New Google Sites) แสดงอยู่ใต้รายการ Google Sites แบบคลาสสิกอยู่ ดังภาพด้านบน
(หมายเหตุ สำหรับผู้ที่ใช้โดเมนเนมสถานศึกษา ตัวอย่าง  https://sites.google.com/dei.ac.th  ในส่วนสีแดงแสดงถึงโดเมนที่ใช้อยู่)

 2. เมื่อเปิดเข้ามาจะเห็น Google Sites รูปแบบใหม่ ภายในพื้นที่ จะแสดง Site ที่สร้างไว้ ในที่นี้ มีอยู่ 3 Site 
ทำการคลิก เลือก Sites ที่ต้องการปรับแต่ง (สมมุติ เลือก ทดสอบ)


3.การปรับแต่งส่วนหัว มีที่ต้องปรับแต่งหลายที่ อาทิ

3.1 การตั้งชื่อ
หน้า(ที่ปรากฏตรงส่วนหัว)
3.2 การเปลี่ยนภาพฉากหลังของส่วนหัวของหน้า
3.3 การปรับเปลี่ยนขนาดของฉากหลังของส่วนหัวของหน้า

การเปลี่ยนภาพฉากหลังของส่วนหัวของหน้า


1) เปิด Sites ที่ต้องการปรับเปลี่ยน ขึ้นมา

2) นำเมาส์มาชี้ตรงส่วนขอบล่างของฉากหลังส่วนหัวของหน้า

3) คลิกเลือกที่รายการ เปลี่ยนรูปภาพ : จะแสดงตัวเลือกให้ 2 รายการคือ 
    อัปโหลด        เป็นการนำภาพฉากหลังที่เตรียมไว้ นำขึ้นระบบของ Sites
    เลือกรูปภาพ  เป็นการเลือกภาพจากแหล่งออนไลน์ ที่ Sites ทำการเชื่อมต่อไว้ แบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม


การเปลี่ยนภาพฉากหลังของส่วนหัวของหน้า : เลือกรูปภาพ

4) วิธีเปลี่ยนรูปภาพจากการ เลือกรูปภาพ 
โดยการคลิกเลือกรายการ เลือกรูปภาพ... ระบบแสดงรายการให้ท่านได้เลือกใช้งาน 5 แหล่ง

แกลเลอรี่ : เป็นรูปแบบของ Google Sites เองมีภาพสำหรับวางฉากหลัง มาให้ได้ใช้มากกว่า 50 แบบ



ตาม URL : เป็นการเลือกไฟล์ภาพจากเว็บไซต์มาก่อน แล้วนำลิ้งค์ของไฟล์ภาพที่ท่านเลือกจากเว็บไซต์นำมาวางลงในช่อง ระบบจะลิ้งค์ไฟล์ภาพนำมาใช้งานใน Sites


ค้นหา : ลักษณะจะคล้ายๆกับแบบ ตาม URL แต่รูปแบบนี้เป็นการค้นหาจากตรงส่วนนี้โดยตรง  ระบบจะลิ้งค์ไฟล์ภาพนำมาใช้งานใน Sites


ทำการเลือกรูป ตามที่ต้องการ เลือกแล้วคลิกที่ปุ่ม เลือก


อัลบั้มของคุณ : เป็นแหล่งเก็ไฟล์ภาพจากผลิตภัณฑ์ของ Google ที่ใช้งานอยู่ อาทิ G-mail หรือ Blogger 


Google Drive (ไดร์ฟของฉัน) : เป็นแหล่งไฟล์รูปที่ท่านเก็บไว้บน Google drive ตาม Account ที่ท่านใช้


แชร์กับฉัน : เป็นแหล่งไฟล์รูป ที่มาจากการแชร์มาจาก Account อื่น


ล่าสุด : เป็นอีกเงื่อนไขของระบบที่ จะจดจำว่า ท่านได้เคยจัดการรูปจากแหล่ง หรือส่วนต่างในผลิตภัณฑ์ของ Google ให้ท่านนำมาเลือกใช้ใน Sites



การเปลี่ยนภาพฉากหลังของส่วนหัวของหน้า : อัปโหลด




5) วิธีการเปลี่ยนรูปภาพ จากการอัปโหลด

ท่านต้องเตรียมภาพ ขนาด กว้าง 1,000 pixel สูง 225 pixel


 ทำการ Upload 


Readmore...
วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Google Sites : สร้าง Sites แบบใหม่

0 ความคิดเห็น
 


Google มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา Google Sites ก็เช่นกัน มีการเพิ่มรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับการแสดงผลบนอุปกรณ์ Mobile Device ได้ดีขึ้น ทำให้ Google Sites มีรูปแบบการสร้าง Site อยู่ 2 แบบ สำหรับแบบเก่า ปัจจุบัน เรียกว่า แบบคลาสิก ส่วนที่เพิ่มมาใหม่ ยังไม่มีชื่อเป็นทางการ แต่ Google เรียกรูปแบบนี้ว่า Google Sites ใหม่  (New Google Sites)


วิธีการสร้าง Sites
1.ไปที่ https://sites.google.com/ จะเห็น Google Sites ใหม่  (New Google Sites) แสดงอยู่ใต้รายการ Google Sites แบบคลาสสิกอยู่
(หมายเหตุ สำหรับผู้ที่ใช้โดเมนเนมสถานศึกษา ตัวอย่าง  https://sites.google.com/dei.ac.th  ในส่วนสีแดงแสดงถึงโดเมนที่ใช้อยู่)

2.ทำการคลิกที่ Google Sites ใหม่  จะพบกับหน้าต้อนรับหน้าแรก คลิกที่ เริ่มต้นใช้งาน


3. ให้คลิกที่เครื่องหมาย + ที่มุมขวา ด้านล่าง เพิ่ม เริ่มใช้งาน


4. ระบบจะพามาที่หน้าแรก โดยมี ส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้

 
    (4.1) ส่วนตั้งชื่อของ Sites ของท่าน
    (4.2) สำหรับ ตั้งชื่อหน้า
    (4.3) สำหรับ Preview ตัวอย่างหน้าเว็บ
    (4.4) สำหรับเพิ่มเงื่อนไข อาทิ แสดงลิงค์ เชิญคนมาเขียนหรือดูแล site เพิ่ม


    (4.5) เป็นส่วนแสดงเงื่อนไขเพิ่มเติม อาทิ ก.การส่งความคิดเห็น, ข.การขอความช่วยเหลือ, หรือทัวร์แนะนำ Google Sites เป็นต้น



    (4.6) เป็นส่วนกำหนดให้หน้าที่สร้างนั้น ทำการออนไลน์เผยแพร่
(สำหรับโดเมนของสถานศึกษา เมื่อทำการคลิกที่เผยแพร่ จะมีหน้าแสดงขึ้นเพื่อให้ท่านกำหนดเงื่อนไขในการแสดงผล ว่าจะให้แสดงผลเฉพาะในโดเมน หรือ สาธารณะ)


    (4.7) แทรก : สำหรับใช้สร้างรายละเอียดของหน้า site อาทิ ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ ลิงค์ เป็นต้น


    (4.8) หน้า : ส่วนเพิ่มหน้า ซึ่งหากต้องการเพิ่มหน้าให้คลิกที่  Add Page ด้านขวาล่าง ดังภาพ


    (4.9) ธีม เป็นชุดรูปแบบของสีและตัวอักษร ที่ผู้ใช้สามารถปรับแต่งให้กับ site


5. ทำการตั้งชื่อ Sites : ซึ่งจะปรากฏเป็น URL ตัวอย่างเช่น
     https://sites.google.com/dei.ac.th/mediathailand : กรณีใช้โดเมน สถานศึกษา
     https://sites.google.com/mediathailand

6. ทำการตั้งชื่อหน้า Page ซึ่ง ผู้ใช้ สามารถเพิ่มหน้าเพิ่มได้โดยอิสระ


7. ท่านสามารถเพิ่ม Logo ใสบริเวณนี้ได้ ซึ่ง Google Sites อำนวยความสะดวกในการใส่ Logo ได้ง่าย


Readmore...
วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Google Sites : การลบ Site (แบบเก่า)

1 ความคิดเห็น
 
การลบ Site ใน Google site

1.เปิดไปที่ site ที่ต้องการลบ


2.เมื่อเปิด Site เลือกที่รูปเฟือง


3.เลือกรายการ จัดการไซต์


4. จะแสดงรายการปรับแต่งต่างๆ ให้ หารายการ ปุ่ม ที่เขียนว่า นำออกไซต์นี้


5.เมื่อคลิกปุ่มดังกล่าว จะปรากฏแถบแจ้งเตือน หากยืนยันที่จะลบ คลิก ปุ่ม ลบ


6. Site จะถูกลบออกจากรายการของระบบ Google site


Readmore...
วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2560

Classroom : สภาพแวดล้อมทั่วไป

1 ความคิดเห็น
 

เรามาดูภาพรวมในห้องเรียนที่ปรากฏขึ้นกันว่า มีอะไรบ้าง (ในภาพด้านล่างเป็นภาพที่ผ่านการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของบทเรียนแล้ว)


1.รายชื่อวิชา หรือ บทเรียน


2.เมนูหลัก : สตรีม (Stream) เป็นตำแหน่งที่จะแสดงข้อมูลของชิ้นงานเนื้อหาการเรียนรู้ ประกาศ และการแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน ซึ่งเมื่ออยู่ในตำแหน่งนี้ ก็จะเป็นการเปิดชุดเครื่องมือเพื่อสร้างกระบวนการเรียน (หมายเลข 15) ด้วย


3.เมนูหลัก : นักเรียน (Students) เป็นส่วนแสดงข้อมูลของผู้เรียน รหัสชั้นเรียน และการเชิญผู้เรียน


4.เมนูหลัก : เกี่ยวกับ (About) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับรายวิชาที่เราทำการสร้าง ทั้งชื่อวิชา คำอธิบายรายวิชา ห้องเรียนตามตารางสอน โฟลเดอร์เนื้อหา ชิ้นงาน(การบ้าน) แบบฝึกหัดทั้งหมดของวิชานั้นๆ


5.แอป Google ที่ผู้ใช้งานได้รับสิทธิ์ หรือทำการเชื่อมต่อไว้



6.การแจ้งเตือน


7.บัญชีผู้ใช้งาน
8.ชื่อวิชา หรือ บทเรียน(ตำแหน่งกลางหน้าของ banner)
9.ชื่อครูเจ้าของวิชา


10.ส่วนเปลี่ยนสภาพแวดล้อม หรือ เลือกธีม (Theme) ซึ่ง Classroom มีธีมให้ท่านเลือกใช้มากมาย นอกจากนี้ท่านสามารถที่จะสร้างภาพประกอบหัวเรื่องเพื่อใช้เป็นฉากหลังแทน ที่ ส่วน อัพโหลดรูปภาพ (ซึ่งท่านต้องเตรียมจัดทำไฟล์ภาพให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งคงจะแนะนำในภายหลัง)



11.กำหนดแจ้งเตือนงานหรือกิจกรรม
12.รายการหัวข้อเนื้อหาของวิชา
13.เป็นส่วนการวางข้อมูลบทเรียน
14.ส่วนแสดงรายการที่ถูกลบ
15.เป็นส่วนสร้างขั้นตอนกิจกรรมการเรียนรู้ในบทเรียน แสดงด้วยเครื่องหมาย + ซึ่งจะแสดงขึ้นเมื่อทำการคลิกที่ สตรีม (2) เท่านั้น



Readmore...
วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Google Classroom : การ Upload งานขึ้น Google Drive

0 ความคิดเห็น
 
หลังจากได้ Learning Object (LO) พร้อม Story line Sheet ขั้นตอนต่อไปนี้ เป็นการนำไฟล์ทั้งหมด ขึ้นไปไว้บน Google Drive
มีขั้นตอนดังนี้

1.ทำการ Login เข้าระบบ


2.คลิกเลือกที่ ไดร์ฟของฉัน
3.เลือก โฟลเดอร์ใหม่ เพื่อทำการสร้างโฟลเดอร์ สำหรับใช้เก็ยไฟล์ข้อมูลหลักสุตร (ในที่นี้สมมุติว่าตั้งชื่อเป็นห้อง Classroom) คลิกปุ่มสร้าง


4.ทำการเปิดโฟลเดอร์ที่สร้างใหม่ ถ้าคิดว่า จะมีบทเรียนอื่นๆอีกก็สร้างโฟลเดอร์ย่อย


5.เปิด โฟลเดอร์ที่ Google ไดร์ฟ แล้วทำการอัพโหลดไฟล์


6.หาไฟล์ต้นทางที่ได้เตรียมไว้ แล้วทำการ อัพโหลดไฟล์ ทั้งหมด


จบขั้นตอนการ นำไฟล์ขึ้นระบบ


Readmore...

Google Classroom : การสร้างชิ้นส่วนบทเรียน

0 ความคิดเห็น
 
การจะสร้างบทเรียนออนไลน์ด้วย Classroom ให้สำเร็จและมีประสิทธิผลตามที่หวังเต็มประสิทธิภาพของระบบ ผู้สร้างต้องทำการวางแผนการดำเนินงานก่อนลงมือทำที่ Classroom


จากโครงสร้างด้านบน สมมุติว่าเป็นเพียงบทเรียนเล็กๆ ซึ่งในที่นี้จะเริ่มต้นที่ Module Course แบ่งเนื้อหาออกเป็นเนื้อหาย่อยๆ 5 ตอน (unit) วิธีการ สามารถกำหนดขั้นตอนได้ ดังนี้

1.ที่ Module ผู้สร้างบทเรียนต้องดำเนินการศึกษาโครงสร้างของ Unit หรือ Chapter
2.นำแต่ละ Unit มาพิจารณา โดยลดทอนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติมในส่วนที่จำเป็น แล้วทำการแยกเนื้อหาและกิจกรรมให้เป็นส่วนย่อยๆ ที่เรียกว่า Content object (CO) พิจารณาใช้ภาพประกอบ หรือวิดีทัศน์ประกอบบทเรียนที่จำเป็นเพิ่มเติม


3.นำ CO มาจัดลำดับเรียบเรียงเนื้อหา ในลักษณะ Story line แล้วบันทึกกระบวนการจัดการเรียนรู้ รวมถึงลำดับขั้นตอนก่อนหลังของไฟล์ทั้งหมด(ซึ่งใบบันทึกนี้เรียกว่า Story Line Sheet)


4.นำ CO ที่เรียงลำดับแล้ว มาจัดทำเป็นไฟล์ชิ้นส่วนการเรียนรู้ขนาดเล็ก หรือ Learning Object (LO) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของไฟล์เอกสาร Word หรือ PDF  แนะนำให้ใช้ PDF


ดำเนินการ Save ไฟล์ ทุกไฟล์ไว้ตามลำดับ เพื่อเตรียม Upload ในลำดับต่อไป


5.ดำเนินการ Upload ขึ้นที่ Google Drive

Readmore...

test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม

นายมีเดีย : mediathailand
สุวัฒน์ ธรรมสุนทร (mediath@hotmail.com)
ข้าราชการบำนาญ สำนักงาน กศน.
กระทรวงศึกษาธิการ

++ ความคิดเห็นจากเพื่อน Facebook