วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Google Classroom : การ Upload งานขึ้น Google Drive

0 ความคิดเห็น
 
หลังจากได้ Learning Object (LO) พร้อม Story line Sheet ขั้นตอนต่อไปนี้ เป็นการนำไฟล์ทั้งหมด ขึ้นไปไว้บน Google Drive
มีขั้นตอนดังนี้

1.ทำการ Login เข้าระบบ


2.คลิกเลือกที่ ไดร์ฟของฉัน
3.เลือก โฟลเดอร์ใหม่ เพื่อทำการสร้างโฟลเดอร์ สำหรับใช้เก็ยไฟล์ข้อมูลหลักสุตร (ในที่นี้สมมุติว่าตั้งชื่อเป็นห้อง Classroom) คลิกปุ่มสร้าง


4.ทำการเปิดโฟลเดอร์ที่สร้างใหม่ ถ้าคิดว่า จะมีบทเรียนอื่นๆอีกก็สร้างโฟลเดอร์ย่อย


5.เปิด โฟลเดอร์ที่ Google ไดร์ฟ แล้วทำการอัพโหลดไฟล์


6.หาไฟล์ต้นทางที่ได้เตรียมไว้ แล้วทำการ อัพโหลดไฟล์ ทั้งหมด


จบขั้นตอนการ นำไฟล์ขึ้นระบบ


Readmore...

Google Classroom : การสร้างชิ้นส่วนบทเรียน

0 ความคิดเห็น
 
การจะสร้างบทเรียนออนไลน์ด้วย Classroom ให้สำเร็จและมีประสิทธิผลตามที่หวังเต็มประสิทธิภาพของระบบ ผู้สร้างต้องทำการวางแผนการดำเนินงานก่อนลงมือทำที่ Classroom


จากโครงสร้างด้านบน สมมุติว่าเป็นเพียงบทเรียนเล็กๆ ซึ่งในที่นี้จะเริ่มต้นที่ Module Course แบ่งเนื้อหาออกเป็นเนื้อหาย่อยๆ 5 ตอน (unit) วิธีการ สามารถกำหนดขั้นตอนได้ ดังนี้

1.ที่ Module ผู้สร้างบทเรียนต้องดำเนินการศึกษาโครงสร้างของ Unit หรือ Chapter
2.นำแต่ละ Unit มาพิจารณา โดยลดทอนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติมในส่วนที่จำเป็น แล้วทำการแยกเนื้อหาและกิจกรรมให้เป็นส่วนย่อยๆ ที่เรียกว่า Content object (CO) พิจารณาใช้ภาพประกอบ หรือวิดีทัศน์ประกอบบทเรียนที่จำเป็นเพิ่มเติม


3.นำ CO มาจัดลำดับเรียบเรียงเนื้อหา ในลักษณะ Story line แล้วบันทึกกระบวนการจัดการเรียนรู้ รวมถึงลำดับขั้นตอนก่อนหลังของไฟล์ทั้งหมด(ซึ่งใบบันทึกนี้เรียกว่า Story Line Sheet)


4.นำ CO ที่เรียงลำดับแล้ว มาจัดทำเป็นไฟล์ชิ้นส่วนการเรียนรู้ขนาดเล็ก หรือ Learning Object (LO) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของไฟล์เอกสาร Word หรือ PDF  แนะนำให้ใช้ PDF


ดำเนินการ Save ไฟล์ ทุกไฟล์ไว้ตามลำดับ เพื่อเตรียม Upload ในลำดับต่อไป


5.ดำเนินการ Upload ขึ้นที่ Google Drive

Readmore...

Google Classroom : การสร้างชั้นเรียน

0 ความคิดเห็น
 

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสถานะ teacher มี 2 สถานะ นั่นคือ ผู้สร้าง และ ผู้สอน ในเวลานี้ จะอยู่ในสถานะผู้สร้าง

การสร้างชั้นเรียนด้วย classroom สามารถทำได้หลายวิธีการ  แต่ทั้งนี้ ผู้ใช้งานต้องทำงานผ่าน Gmail เท่านั้น
1.ทำผ่าน Web address *** โดยเข้าไปที่ https:/classroom.google.com คลิกที่ SIGN IN หรือ ลงชื่อเข้าใช้



2.ทำการ Sign in ด้วยบัญชี Gmail หากตรงส่วนนี้ ต้องการให้ระบบแสดงภาษาไทย ให้คลิกเลือก(เครื่องหมายลูกศร)


3.ใส่รหัสผ่าน เพื่อเข้าสู่ระบบ


4.ระบบจะนำทางมายังหน้าสร้างงาน


5.คลิกที่ เครื่องหมาย + จะแสดงตัวเลือก 2 รายการ


6.เลือกที่รายการ สร้างชั้นเรียน เมื่อคลิกจะเกิด Popup แสดงข้อความดังภาพด้านล่าง


7.ทำการ check box หน้าข้อความ ฉันอ่านและเข้าใจประกาศข้างต้นแล้ว ...............
   คลิกปุ่ม ทำต่อ

8.จะปรากฏกล่องข้อความ สร้างชั้นเรียน (Create a Class) ซึ่งเป็นการใส่รายละเอียดของชั้นเรียน มีอยู่ 3 รายการคือ

   
      ชื่อชั้นเรียน (Class Name)
      บังคับให้กรอก : ตรงนี้ ท่านต้องระบุ ซึ่งจะปรากฏเป็นชื่อส่วนหัวเรื่อง
      (ในความเข้าใจของผู้เขียน น่าจะเป็นส่วนของวิชาเรียนมากกว่า)
      ส่วนห้อง (Section)
      ไม่บังคับกรอก เป็นการระบุห้องของชั้นเรียนหรือระดับชั้นปี หรือ กลุ่ม
      ลำดับสุดท้าย เรื่อง 
      ไม่บังคับกรอก (ตรงนี้เมื่อลองใช้งานดูก็ไม่น่าจะตรงกับเงื่อนไขที่ให้กรอก)



9.คลิกที่ ปุ่ม สร้าง (Create) 
ถึงตอนนี้ห้องเรียน(ว่างเปล่า)ได้ถูกสร้างขึ้นแล้ว ดังภาพด้านล่าง





Readmore...

Google Classroom : แนะนำ

0 ความคิดเห็น
 
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2014 ได้มีการเปิดตัวแนะนำ Application ใหม่ สำหรับผู้ใช้ G Suite for Education ในชื่อ Google Classroom  และต่อมา วันที่ 12 สิงหาคม Google Classroom จึงได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะจนปัจจุบัน มีผู้นำ Google Classroom ไปใช้ในวงการศึกษา และฝึกอบรม อย่างแพร่หลาย


Google Classroom คืออะไร 
Google Classroom คือ ระบบจัดการเรียนการสอน learning management system : LMS ซึ่งเป็น Application หนึ่งของ Google ที่นำเอาบริการต่างๆที่สําคัญต่างๆ นำมาผนวกผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ การจัดการศึกษา การฝึกอบรม ทั้งในระดับสถานศึกษา และภาคธุรกิจ ผู้สร้าง Classroom ไม่จำเป็นต้องมีทักษะการสร้างเว็บ การสร้าง classroom ทำได้ไม่ยาก




จากการที่ Classroom เป็น Application ที่ผสานรวมผลิตภัณฑ์หลักของ Google ไม่ว่าจะเป็น Google Docs, Google Drive, Gmail รวมถึงองค์ประกอบพิเศษที่มี ทำให้ Classroom เป็น Apps ที่มีพลังในการจัดการเรียนรู้ หรือการฝึกอบรมได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นการให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติ การทดสอบ การมอบหมายงาน กิจกรรม ให้ผู้เรียน การติดตามการเรียนรู้รายบุคคล การปรึกษา สนทนาภายในชั้นเรียน การส่งงานคืนถึงผู้สอน การตรวจงานให้คะแนน สามารถทำได้เบ็ดเสร็จใน Classroom ทำให้การใช้กระดาษในการจัดการเรียนรู้(หรือฝึกอบรม) น้อยลง 

ประโยชน์โดยรวมของ Google Classroom 
1. เป็น App หรือแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานง่าย ผู้ใช้งาน(ผู้สอนและผู้สร้าง)สามารถสร้างห้องเรียนออนไลน์ได้หลายวิชา
2. ผู้สอนสามารถเพิ่มรายชื่อผู้เรียนจากบัญชีของ Google เข้ามาอยู่ในห้องเรียน หรือสามารถนำรหัสประจำวิชา (class code) แจ้ง(ส่งถึง)ผู้เรียนได้
3. ระบบมีส่วนสนับสนุนในการจัดการเรียนการสอน  ผู้สอนสามารถตั้งข้อคำถาม(การบ้าน) หรือชิ้นงานให้ผู้เรียนได้ทำ หรือศึกษาค้นคว้า โดยสามารถแนบไฟล์ แนบ Link แนบเว็บไซต์ พร้อมกำหนดวันส่งได้
4. มีความเป็นระเบียบ เนื่องจากเนื้อหาทั้งหมดจะถูกจัดเก็บไว้ใน Google drive โดยอัตโนมัติ ผู้เรียนจึงสามารถเข้ามาทำงาน กิจกรรมที่มอบหมาย(การบ้าน)ด้วย Google Docs และส่งเข้า Google Drive ของ(ครู)ผู้สอนได้
5. ระบบสื่อสารออนไลน์ที่สะดวกคล่องตัว ผู้สอนสามารถประกาศข่าวสารต่างๆ แก่ผู้เรียนได้ง่ายและมีกระดานข่าว เพื่อให้ได้ร่วมสนทนา ปรึกษา ปะกาศข่าวสาร แชร์แหล่งข้อมูล หรือตอบคำถามในสตรีมได้
6.ผู้เรียนสามารถดูชิ้นงานหรือกิจกรรมในบทเรียนของตนได้ภายในห้องเรียนของตนเอง
7. ติดตามงานเป็นรายบุคคลได้ (ครู)ผู้สอนสามารถเข้ามาดูงานที่มอบหมายให้ผู้เรียนว่าใครส่งหรือไม่ส่งตามเวลาที่กำหนดไว้ สามารถติดตามทวงถามเป็นรายบุคคลได้ 
8.(ครู)ผู้สอนสามารถตรวจ(ชิ้น)งานของผู้เรียนแต่ละคน พร้อมทั้งให้คะแนนและคำชี้แนะหรือติชมได้แบบเรียลไทม์ 
9.(ครู)ผู้สอนสามารถออกแบบทดสอบ หรือแบบฝึกหัดผ่าน Google forms เพื่อใช้ในการ
วัดและประเมินผลผู้เรียนได้ 
10. สะดวกในการใช้งาน เนื่องจาก Google ได้รวมเอาบริการที่มีอยู่ อาทิ Drive, Docs, Gmail  หรือ Forms ซึ่ง (ครู)ผู้สอนและผู้ใช้งาน สามารถเรียกใช้ระบบทั้งหมดภายใต้ Account เดียวกัน




เรามาดูคุณลักษณะเฉพาะของ Classroom กัน














Classroom จะเป็นอีกมิติใหม่ของการจัดการเรียนรู้ จัดการศึกษา การฝึกอบรม ตามกระบวนการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ ด้วยเครื่องมือที่ทรงพลังของ Google จะส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียน มีประสิทธิภาพสูงสุด ตามศักยภาพของผู้เรียน


แม้ว่า Classroom จะแบ่งส่วนในการใช้งานอย่างชัดเจนในสองสถานะ คือ ส่วนผู้เรียน (เลือก เข้าร่วมชั้นเรียน)  และครูผู้สอน (เลือกสร้างชั้นเรียน) ก็ตาม แต่เพื่อให้การเรียนรู้บนฐาน mediathailand แห่งนี้ มีรายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้น จึงทำการแบ่งรูปแบบการใช้งานออกเป็น 3 ส่วน คือ
(1) ส่วนผู้สร้างชั้นเรียน
(2) ส่วนครูผู้สอน(ประจำบทเรียน)
(3) ส่วนผู้เรียน
ซึ่งผู้ศึกษาเรียนรู้สามารถเลือกศึกษาตามบทบาทหน้าที่ หรือตามรูปแบบการใช้งานได้โดยตรง

อ้างอิง
https://edu.google.com/intl/th/products/productivity-tools/classroom/ 
ไฟล์เอกสารสารการนำเสนอประกอบการอบรม

ศึกษาเพิ่มเติมที่ : 
https://elearningindustry.com/top-10-google-classroom-best-practices
Readmore...
วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Blogger : แนะนำ

0 ความคิดเห็น
 

ตลอดระยะเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา (1999) เว็บไซต์ในนามของ Blogger หนึ่งในผู้ให้บริการพื้นที่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำเสนอสาระ เนื้อหาหรือบทความประเภทต่างๆ สามารถแบ่งบัน เรื่องราว รูปภาพงานกราฟิก หรือรูปถ่าย หรือสื่อต่างๆ รวมถึงแนวคิด ไอเดียดีๆอันส่งผลประโยชน์แก่ผู้อ่าน ผู้เข้าชมตลอดมา และเมื่อได้เข้ามาสู่ network ของผู้ให้บริการ search engine ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด นาม GOOGLE ยิ่งส่งผลให้ Blogger กลายเป็น Weblog ที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง


ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา Blogger จากบล็อกที่มีลักษณะเป็นคล้ายๆหน้ากระดาษเว็บออนไลน์ที่ดูเรียบๆ ถูก GOOGLE พัฒนาเพิ่มเติมนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง คุณลักษณะต่างๆจน Blogger มีภาพลักษณ์ที่ดูดี มีเทคนิคในการใช้งานทั้งการสร้างเนื้องานและการเยี่ยมชมที่ง่าย ดูดีเทียบเท่าเว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษาสคริปต่างๆ ทีเดียว


ปัจจุบันถือได้ว่า Blogger เป็น Application online ที่ใช้งานค่อนข้างง่าย มีเครื่องมือพื้นฐานเช่นเดียวกับโปรแกรม Word Processing นอกจากนี้ยังมีส่วนสนับสนุนต่างๆที่เรียกว่า Gadget ส่งผลให้ Blogger มีพลังต่อการสร้างสรรผลงานทียบเท่าเว็บไซต์ที่สร้างพัฒนาด้วยโปรแกรมเขียนเว็บ มีหลายส่วน ทำให้มีผู้สร้างบล็อกด้วย Blogger ทั่วโลกมากกว่า 330 ล้านบล็อก (อ้างอิงจาก : https://www.statista.com/statistics/256235/total-cumulative-number-of-tumblr-blogs/)

สำหรับประเทศไทย มีการนำบล็อกมาใช้งานในด้านต่างๆที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวที่เป็นสมุดบันทึกกิจกรรม หรือประสบการณ์ชีวิต หรือด้านวิชาการหรือการศึกษาในรูปแบบต่างๆ ด้านร้านค้าห้องโชว์สินค้าออนไลน์ หรือเป็นแฟ้ม Album ภาพ เป็นต้น

เราจะมาดูว่า Blogger มีลักษณะเด่นๆ อะไรบ้าง
1.สร้างง่ายกว่าการสร้างเว็บไซต์

2.ในหนึ่ง account ท่าน สามารถสร้างบล็อกได้ 100 บล็อก


3.มีพื้นที่รองรับในการนำภาพกราฟิกเข้าใช้ในบล็อกมากถึง 1 GB

4.รองรับการสร้างหน้าเอกสารเว็บบล็อกที่ท่านสร้างขนาดใหญ่ถึง 1 MB

5.อนุญาตให้มีผู้เขียนร่วมได้ 100 คนต่อ 1 บล็อก

6.ไม่ต้องเช่าพื้นที่ และไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน

7.ไม่ต้องใช้โปรแกรมพิเศษใดในการสร้างหน้างาน


8.สามารถจัดหมวดหมู่ หรือกลุ่มของเนื้อหาออกเป็นกลุ่ม ๆ (category)ได้ โดยท่านสามารถกำหนดกลุ่มเนื้อหาได้มากถึง 5,000 กลุ่มเนื้อหา


9.เข้าสู่กระบวนการค้นหาเนื้อหาได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งในแบบคำสำคัญ หรือ ช่วงเวลา

10.กำหนดเงื่อนไขในการเผยแพร่ได้ อาทิเฉพาะส่วนตัว เผยแพร่แบบสมาชิกหรือกลุ่ม หรือ เผยแพร่สาธารณะ


11.มีระบบแสดงความคิดเห็น (comment) ที่สามารถให้ท่านกำหนดเงื่อนไขให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นในแต่ละบทความได้อย่างอิสระ


12.อนุญาตให้ผู้สร้างงานสามารถแก้ไข html หรือเพิ่มเติมสคริปลักษณะพิเศษต่างๆได้

13.สามารถสร้างสรรบทความ หรือหัวข้อต่างๆได้ไม่จำกัด

14.อนุญาตให้ใช้ธีมหรือ Template จากภายนอกได้ง่าย

15.บริหารจัดการเว็บบล็อกได้โดยง่าย


อ้างอิง
http://www.blogger.com
http://www.mybloggertricks.com/2012/07/7-Reasons-why-Never-Migrate-Blogger-To-Wordpress.html
Readmore...

test

สาระ เนื้อหา เรื่องราว ที่ปรากฎอยู่ในบล็อกแห่งนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมผลงาน แนวคิด จากการศึกษาเรียนรู้ และประสบการณ์ในการทำงาน รวมถึงการนำมาจากแหล่งข้อมูลอื่น(ซึ่งจะแจ้ง links ต้นทาง) นำมาเผยแพร่ให้กับท่านที่สนใจ ผ่านช่องทางและเวทีบล็อกแห่งนี้ หากท่านต้องการที่จะแนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำบล็อกความรู้นี้ ติดต่อพูดคุย(ฝากข้อความ) ได้นะครับ
ขอบคุณที่กรุณาเข้าเยี่ยมชม

นายมีเดีย : mediathailand
สุวัฒน์ ธรรมสุนทร (mediath@hotmail.com)
ข้าราชการบำนาญ สำนักงาน กศน.
กระทรวงศึกษาธิการ

++ ความคิดเห็นจากเพื่อน Facebook